เมื่อเทระเบียงหลังบ้านและพื้นห้องน้ำชั้น2 ส่วนที่เป็น พื้นหล่อในที่เสร็จ
ก็เริ่มงานวางแผ่นพื้นสำเร็จ
ซึ่งก็ต้องเริ่มตั้งค้ำยันไว้รับแผ่นพื้นสำเร็จ
เพื่อว่าเวลาเทปูนทับหน้า แผ่นพื้นสำเร็จ
จะได้ไม่แตกหัก
ส่วนที่ต่อกับระเบียงหลังบ้าน
การวางแผ่นพื้น ก็โดยใช้เครนยกจากด้านล่างหลังบ้านขึ้นมา แล้วคนงานช่วยกันหามไปวางตามช่องคานของแต่ละคาน แขนล้าไปตามๆกัน
แผ่นพื้นสำเร็จหนา 5 ซม. บอกวันเดือนปี ที่ผลิต และ ขนาดความยาวของแผ่น และจะเห็นลวดโผล่ที่ปลายของแผ่น ซึ่งแล้วแต่ว่าจะใช้ลวด 4 เส้นหรือ 6 เส้น ซึ่งจะให้กำลังต่างกัน
ภาพด้านล่างใต้ท้องพื้น จะเห็นค้ำยันที่ทำไว้เพื่อรับน้ำหนัก ป้องกันแผ่นสำเร็จหักหรือร้าว
จะเห็นช่องว่างข้างคานที่แผ่นสำเร็จวางแล้วปิดช่องว่างไม่สนิท ซึ่งต้องใช้ไม้อัดปิดช่องว่างดังกล่าวเพื่อไม่ให้ปูนไหลออก
แผ่นพื้นสำเร็จเมื่อวางเสร็จเรียบร้อย
บางแผ่นก็วางไม่ลงเนื่องจากมีปูนบางส่วนของบนคานอยู่สูงเกินไป จึงวางแผ่นพื้นไม่ลง ต้องสกัดออก
วางแผ่นเสร็จก็วางเหล็กตะแกรง wiremesh
ส่วนของพื้นที่ต่อกับพื้นห้องน้ำที่เทไปก่อนหน้า ต้องตั้งแบบกั้นปูนไว้ ซึ่งระดับพื้นห้องน้ำจะต่ำกว่าพื้นบ้าน 10 ซม.
ช่วงรอยกลางคานจะเป็นช่องว่างที่ไม่ได้วางแผ่นก็ต้องอุดคาน เพื่อไม่ให้ปูนไหลออกไปตอนเทปูน
เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เรียกรถปูนมาเท โดยใช้รถเครนหิ้ว bucket ไปเท แต่คราวนี้ ขอสวิงเครนไปทางซ้ายแทน เพราะเดี๋ยวเลอะกำแพงบ้านที่เขาเพิ่งทาสี เดี๋ยวโดนอีก 4 พัน
ตอนเทปูนต้องใช้คนขึ้นไปช่วยประคอง
bucket ให้ลงในช่องว่างของเหล็กโครงหลังคา
คนงานช่วยกันประคองและดึง bucket เพื่อปล่อยปูน
เกลี่ยปูนให้ทั่ว
ส่วนที่ยังไม่ได้เท ก็ฉีดน้ำล้างแบบและเศษสิ่งสกปรกต่างๆ
คนงานปาดปูนให้ได้ระดับ ไม่เกิดเป็นแอ่ง
ภาพใต้ท้องพื้นสำเร็จ หลังรื้อค้ำยันออก
ภาพใต้พื้นหล่อในที่ บริเวณระเบียงหลังบ้าน หลังรื้อแบบออกแล้ว