วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานระเบียงบ้านและพื้นห้องน้ำ


                 หลังจากที่ได้ทำโครงหลังคาไปบางส่วนแต่ยังไม่ได้ติดแปร เพื่อให้สามารถ
เทปูนพื้นชั้น 2 ได้ เพราะต้องใช้ bucket หย่อนลงจากหลังคา ก็เริ่มดำเนินการทำแบบ
พื้นระเบียงหลังบ้านและพื้นห้องน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นหล่อในที่ จึงต้องทำก่อนวางแผ่น
สำเร็จรูปพื้นส่วนอื่น


ระเบียงหลังบ้านชั้น 2
 
 
 

กำลังวางเหล็กเสริม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 ส่วนห้องน้ำชั้น2 ด้านขวาของบ้าน ซึ่งแบบพื้นใช้ไม้อัด












 
 เมื่อเสริมเหล็กเสร็จเรียบร้อยก็เทปูน โดยใช้เทปูนใส่กระบะ แล้วคนงานหิ้วถังปูนส่งต่อๆกัน
 
 
 
 จะเห็นว่าพื้นชั้น 2 ยังไม่ได้วางแผ่นสำเร็จ
 
 

 ช่างกำลังปาดหน้าปูน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จะเห็นไม้ค้ำยันคานรับหลังคายังฝังในเนื้อปูน เนื่องจากเทคานรับหลังคายังไม่ครบ 7 วัน (ประมาณ 5 วัน)แต่ช่างจะเทปูนระเบียง เลยตัดไม้ค้ำยันคานออก ผมเลยต้องบอกให้ใส่ค้ำไว้ก่อน อย่างน้อย 2 ตัว กลัวพัง   (ผู้รับเหมาค่อนข้างเร่งงาน)
 
 
 
 จะเห็นขาค้ำยันคาน ลอยจากพื้น เพราะช่างตัดออก















รถปูนเข้ามาจอดเทจากด้านหลังบ้าน


วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานโครงหลังคา


            โครงหลังคา หลังจากทำคานรับหลังคาเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาทำโครงหลังคา ซึ่งตามแบบใช้เป็นหลังคาแบบ metal sheet ก็ลักษณะบ้านแบบตึกแถวอาคารพาณิชย์ ปัจจุบันนิยมใช้หลังคาแบบ metal sheet กัน


 เริ่มต้นก็เตรียมเหล็กตัว C นำมาทาสีกันสนิมกันทิ้งไว้ก่อน 1 วัน














ก็ใช้ลูกกลิ้งทาทีละหลายอันพร้อมกันไปเลย















เสร็จแล้วก็นำเหล็กขึ้นมาด้านบน เพื่อตัดและเชื่อมต่อ ซึ่งสะดวกกว่าทำด้านล่างแล้วเอาขึ้นมาทีหลัง เพราะเหล็กต่อกันแล้วยาวมากเอาขึ้นลำบาก














 หลังจากนั้นก็เริ่มทำดั้งรับสะพานรับจันทันกันก่อนเลยครับ ดั้งนี้ก็จะยึดติดกับเหล็กเสาที่โผล่ทิ้งไว้โดยการงอเหล็กเสาให้ติดกับดั้งแล้วเชื่อม ดั้งใช้เหล็กตัว C ประกบเชื่อมติดกันเป็นลักษณะเหมือนเสา ตัวหน้าสุดสูงประมาณ 1.50 ม. แล้วก็ไล่ระดับลงไปเรื่อยๆจนตัวหลังสุดจะใช้เหล็กสะพานรับจันทันวางบนแนวคานไปเลย










 เมื่อทำดั้งเสร็จทั้งหมดก็วางสะพานรับจันทันซึ่งเป็นเหล็กตัว C เชื่อมประกบกัน แล้ววางบนดั้งอีกทีหนึ่ง
































รูปถ่ายจากด้านหน้าบ้านด้านล่าง จะเห็นจันทันวางเรียงกันเป็นแนวมาทางด้านหน้า
 
 รูปนี้จากด้านหลังบ้าน















รูปนี้ขึ้นไปถ่ายด้านบน ซึ่งจะเห็นรอยเชื่อมต่อของจันทัน ซึ่งต้องเก็บสีอีกครั้งหนึ่ง


























 รูปนี้จะเห็นว่าจันทันวางแล้วไม่ถึงเหล็กรับจันทัน จึงต้องใช้เหล็กเส้นมาเชื่อมยึดไว้














 แต่โดยส่วนใหญ่จันทันก็จะวางได้พอดีบนเหล็กรับจันทัน














โครงหลังคาที่เชื่อมเสร็จ แต่ยังไม่ได้วางแปร เนื่องจากต้องใช้ช่องว่างในการเทปูนพื้นชั้น 2 เพราะถ้าวางแปรแล้ว bucket ปูน จะหย่อนลงไม่ได้

งานคานรับหลังคา

          
                   งานคานรับหลังคา  เมื่อทำการหล่อเสาชั้น 2 แล้วเสร็จ ก็มาถึงงาน
    คานรับหลังคา ซึ่งก็ต้องเริ่มจากเตรียมตั้งค้ำยันท้องคาน

 
 
    ซึ่งในขณะที่ทำค้ำยันคานรับหลังคานั้นก็ยังไม่ได้วางแผ่นพื้นชั้น 2 แต่อย่างใด
    จึงเป็นการทำงานที่ค่อนข้างยากพอสมควร และอยู่ในระดับที่สูง ระดับ +8.20 ม.
    ซึ่งถ้าคนที่ไม่เคยชินกับการทำงานในที่สูงโดยไม่มีเครื่องป้องกันก็จะขาสั่นได้
    เหมือนกัน
   
 
 เมื่อทำการตั้งแบบรับท้องคานและทำค้ำยันเสร็จเรียบร้อยก็เริ่มวางเหล็กคาน ซึ่งคานรับหลังคาก็มีขนาดหน้าตัดเดียวกันกับคานชั้น 2 คือ ขนาด 0.2 x 0.4 ม.









ตอนแรกๆยังถ่ายรูปอยู่ด้านล่าง เพราะยังกลัวๆอยู่เหมือนกันไม่กล้าขึ้นไป เขาทำบันไดลิงไว้ให้คนงานขึ้นไป
 
 
 

 ตอนหลังก็เห็นว่าผู้หญิงยังขึ้นไปผูกเหล็กได้เลย ทำไมเราจะขึ้นไม่ได้ ก็เลยปีนขึ้นไปถ่ายรูปคนงานเขาผูกเหล็กกันจนได้
แต่คนงานผู้หญิงบางคนก็บอกเสียวๆเหมือนกัน ไม่ค่อยกล้ามองลงไปข้างล่าง
แต่มันคืองานและเพื่อปากท้องก็ต้องทำได้








ดูหัวหน้าคนงานเขาเดินแบบเคยชินซะละ ถ้าไม่ตกก็แล้วไป
 
 














เมื่อวางเหล็กคานและผูกเหล็กปลอกเรียบร้อย



 
 

 เตรียมเข้าแบบข้างคานซึ่งใช้ไม้อัดทำแบบเฉพาะส่วนตรงช่องกลางเนื่องจากต้องเผื่อระดับไว้ทำพื้นยื่น ส่วนคานตัวอื่นก็ใช้แบบไฟเบอร์ที่เช่ามา เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่า



























 ส่วนตรงกลางบ้านจะเป็นช่องว่างจากด้านล่างจนถึงใต้หลังคา ซึ่งจะมีกระจกปิดเป็นช่องแสงไว้ จึงต้องทำพื้นยื่นเพื่องรองรับกระจก
























 เมื่อเข้าแบบข้างคานเสร็จเรียบร้อยก็ตีไม้ค้ำยันไว้เพื่อไม่ให้แบบแบะออกเวลาเทปูน
 
 
 
 เมื่อแบบคานพร้อมก็เรียกรถปูนมาเทโดยใช้เครนในการหิ้วถัง bucket
























 

ใช้เครนหิ้วถัง bucket สวิงผ่านหลังคาข้างบ้านที่เค้าเพิ่งตกแต่งทาสีบ้านใหม่ เลยเป็นเรื่อง เพราะปาก bucket ปิดไม่สนิท น้ำปูนไปติดผนังบ้าน เลยต้องจ่ายค่าทำสีใหม่ไปซะ 4 พันบาท









ขั้นตอนการเทปูนก็เหมือนเดิมคือต้องคอยดึง bucket ให้เลื่อนตามแนวคานและคอยเปิดให้ปูนค่อยๆไหลออกมา บางครั้งก็มากเกินก็ล้นออกมา










คนงานกำลังจี้ปูน เป็นเครื่องจี้ตัวเล็กใช้ไฟฟ้า ก็สะดวกดี และงานก็ไม่ได้ใหญ่โตมากมายอะไร











ส่วนคานที่อยู่ด้านหน้าบ้าน รถเครนเทไม่ถึงก็ต้องใช้วิธีเทใส่กระบะปูน แล้วตักหิ้วเท












 เมื่อเทปูนเสร็จวันรุ่งขึ้น ก็แกะแบบข้างคานออก    จะเห็นเหล็กที่โผล่เหนือเสาขึ้นมา เพื่อใช้เชื่อมติดกับเหล็กโครงหลังคา














ภาพช่องว่างตรงกลางบ้านไว้ติดกระจกทำเป็นช่องแสง












วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานเสาชั้น 2

         
                     เมื่อเทคานชั้น 2 แล้วเสร็จ ก็เริ่มเตรียมการตั้งแบบเสาชั้น  2 ซึ่งเป็น
         การทำงานที่ค่อนข้างลำบากเนื่องจากพื้นที่สูงและยังไม่ได้วางแผ่นพื้นชั้น 2
         บางกรณีของผู้รับเหมาแต่ละเจ้าจะทำงานไม่เหมือนกัน บางกรณีจะเทพื้นก่อน
         แล้วจึงตั้งแบบเสา แต่ในที่นี้ใช้ตั้งเสาก่อนแล้วจึงเทพื้น ซึ่งได้รับการบอกว่า
         ถ้าเทเสาก่อน เมื่อเทพื้น พื้นจะได้อมเสา ซึ่งก็คิดว่าไม่น่าจะแตกต่างเท่าไรนัก




ประกอบแบบเสาไว้แต่ยังไม่ได้ตั้งค้ำยันซึ่งตอนนี้ผู้รับเหมาเปลี่ยนมาใช้แบบเหล็ก
หัวหน้าช่างบอกว่า ตั้งแบบให้ได้ดิ่งง่ายกว่าแบบไฟเบอร์ ซึ่งค่อนข้างแอ่นตัวง่าย












เริ่มตั้งค้ำยันเสา ซึ่งจะตั้งแค่ 2 ด้าน เพื่อใช้ปรับแนวของหน้าเสาให้ได้ดิ่ง














 ซึ่งไม้ค้ำยันสามารถยึดติดกับแบบเหล็กได้โดย ใช้ไม้ท่อนสั้นๆตียึดค้ำระหว่างครีบ
ของแบบเหล็ก เสร็จแล้วจึงใช้ไม้ที่จะใช้ค้ำ
นำมาตอกยึดกับไม้ท่อนสั้นอีกทีหนึ่งซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควรแต่จะมีปัญหากรณีที่ครีบ
ของแบบเหล็กอ่อนตัวไปบ้าง เนื่องจากใช้งานมานาน









มีการต่อเหล็กเสริมของเสา เนื่องจากว่าเหล็กสั้นไป ต้องใช้รับเหล็กคานรับหลังคา














เมื่อค้ำยันและต่อเหล็กเสริมเสร็จเรียบร้อย ก็ถึงเวลาเรียกรถปูนมาเท ก็ต้องใช้วิธีปีนเสา โดยใช้สายพานหรือเชือกคล้องกับตัว
และผูกติดกับแบบเสา กันตก และก็ใช้การ
ส่งต่อถังปูนกันเป็นช่วงๆ











































เมื่อเทเสาเสร็จ ช่างก็จะตอกตะปูติดกับไม้
ท่อนสั้นๆที่ติดกับแบบเหล็ก แล้วก็ใช้เอ็น
ที่ปลายเป็นลูกดิ่ง ขึงกับตะปู แล้ววัดระยะ
ห่างระหว่างเส้นเอ็นกับแบบเหล็ก ประมาณ
 3 ช่วง คือ บน กลาง ล่าง ให้ได้ระยะห่างเท่ากัน ถ้าห่างไม่เท่าก็จะปรับระยะไม้ค้ำยันจนกว่าจะเท่า แล้วก็ตอกตะปูยึดไม้ค้ำยันให้แน่นอีกที ก็จะได้แบบเสาที่มีความตรงไม่เอนไปด้านใดด้านหนึ่ง