เมื่อตั้งแบบเสาและเทเสาชั้นหนึ่งแล้วเสร็จ ก็ถอดแบบเสาออกและบ่มปูนไว้ด้วยการ เอาพลาสติกใสมาห่อหุ้มไว้ ไม่ให้น้ำระเหยออกหลังจากนั้น ก็เตรียมงานพื้นห้องน้ำและพื้นระเบียงหลังบ้าน
เมื่อเตรียมพื้นไม้แบบเสร็จก็ใส่เหล็กเสริมแล้วจึงเทปูน
เทปูนระเบียงหลังบ้าน
พื้นห้องน้ำบริเวณด้านขวาของบ้าน ติดกับทางขึ้นบันไดซึ่งจะเห็นเหล็กเสียบไว้เพื่อรับชานพักบันได
ภาพนี้เป็นอีกมุมมองจากด้านหลังบ้าน
ไปหน้าบ้านจากบริเวณห้องน้ำ
ภาพนี้เป็นบริเวณห้อง safe ซึ่งใส่เหล็กพื้น
แยกต่างหากจากพื้นทั่วไป และจะทำผนัง
คอนกรีตเสริมเหล็กและด้านบนก็เช่นเดียวกัน แต่จะสูงประมาณ 2.5 ม. ใส่เหล็ก
RB9@0.20 ม.#
เมื่อเทคอนกรีตพื้นระเบียงหลังบ้านและพื้น
ห้องน้ำซึ่งเป็นพื้นหล่อในที่แล้วเสร็จ ก็เตรียมวางแผ่นพื้นสำเร็จ
ซึ่งแผ่นพื้นสำเร็จก็จะมีความหนา 5 ซม. ส่วนความยาวก็แล้วแต่ความยาวช่วงคาน ซึ่งก็มีตั้งแต่ 1.5 ม., 2 ม. , 3 ม. , มากสุดตามแบบก็ยาว 4 ม. จะเห็นคนงานยกแผ่นสำเร็จมาวางเรียงต่อกันตามแนวยาวของบ้าน ซึ่งแผ่นสำเร็จจะต้องวางตามการออกแบบการรับน้ำหนักของคาน ไม่ใช่นึกจะวางตามยาวบ้างตามขวางบ้างอย่างนั้นไม่ได้ เพราะการถ่ายน้ำหนักจะถ่ายน้ำหนักลงที่หัวกับท้ายเท่านั้น ด้านข้างไม่มีการถ่ายน้ำหนัก
ส่วนแผ่นพื้นที่วางอยู่ที่ระดับสูง เช่นพื้นชั้นลอย ก็จะต้องมีการตั้งค้ำยันไว้ด้วย ซึ่งจากภาพจะเป็นใช้ไม้ตั้งเป็นค้ำยันรองแผ่นพื้น ซึ่งหลังจากเทพื้น topping เสร็จแล้วก็ค่อยรื้อไม้ค้ำยันออก ซึ่งคนงานสามารถมุดเข้าไปรื้อออกได้
จากภาพจะเห็นช่องว่างตรงกลางบ้านที่ไม่ได้มีการปูแผ่นพื้นไว้ ซึ่งจะเป็นช่องว่างที่เว้นไว้จนถึงด้านบน เอาไว้จัดสวนและก็มีบ่อเลี้ยงปลาเล็กๆไว้ ซึ่งด้านบนของหลังคาก็จะมีช่องเป็นแผ่นใสให้แดดส่องลงมาได้ด้วย
เมื่อวางแผ่นพื้นเสร็จเรียบร้อย ก็ถึงขั้นตอนการวางเหล็กตะแกรง wire mesh เพื่อช่วยยึดปูนผิวบนที่จะใช้เท topping
จากภาพจะเห็นช่องว่างระหว่างรอยต่อของแผ่นพื้น ซึ่งควรให้รอยต่อของแผ่นพื้น อยู่ช่วงกึ่งกลางคาน คือให้ส่วนหัวของแผ่นพื้น แบ่งครึ่งคานเท่าๆกัน เพื่อไม่ให้แผ่นพื้นด้านใดด้านหนึ่ง วางริมคานเกินไป
เมื่อวางตะแกรงเหล็กเสร็จเรียบร้อยก็ถึงเวลาเทปูน จากภาพใช้รถเครนยกปูนมาเท แต่เนื่องจากรถเครน ยกปูนเทได้ไม่ถึงช่วงพื้นด้านหน้า จึงต้องใช้คนช่วยกันโกยปูน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น