หลังจากเทพื้นชั้นล่างและพื้นชั้นลอยแล้วเสร็จ ก็ถึงขั้นตอนทำคานชั้น 2
ซึ่งเริ่มแรกก็ต้องตั้งไม้ค้ำยันคานชั้น 2 ซึ่งในที่นี้ใช้ไม้ยูคาลิปตัส
เมื่อทำค้ำยันคานครบทุกตัวก็ถึงเวลาใส่เหล็กคาน ซึ่งคานชั้น 2 นี้ มีขนาดหน้าตัด 0.2 ม. x 0.4 ม. และใส่เหล็ก DB16
เมื่อใส่เหล็กคานเสร็จเรียบร้อย ก่อนประกอบแบบข้างคานก็ต้องต่อเหล็กเสาขึ้นไปก่อน บางครั้งผู้รับเหมาบางรายก็จะใช้วิธีต่อเหล็กเสาก่อนที่จะใส่เหล็กคาน
แต่ในที่นี่ใช้ใส่เหล็กคานเสร็จเรียบร้อยก่อนค่อยใส่เหล็กเสาเข้าไปในคาน
เมื่อต่อเสาเสร็จหมด ก็พร้อมที่จะเข้าแบบ
ข้างคานต่อไป
ภาพถ่ายจากชั้น 3 ของบ้านเดิม ซึ่งอยู่เยื้องกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นถนนตัดผ่านด้านหน้าบ้าน และจะเห็นตึกสีชมพูที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งอยู่ถนนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งความลึกของที่ดิน จากถนนด้านหน้าไปด้านหลังบ้านก็ประมาณ 48 ม. แต่ตัวอาคารจะสร้างไม่ยาวตลอดของที่ดิน จะลึกประมาณ 22 ม. ส่วนที่เหลือด้านหลังจะใช้ทำสวน และที่จอดรถ
เมื่อใส่เหล็กคานและต่อเสาเรียบร้อย ก็เตรียมการเข้าแบบข้างคาน และทำค้ำยันด้านข้างแบบ เพื่อป้องกันไม่ให้แบบแบะออกเมื่อเทปูน
แบบข้างคานใช้เป็นแบบไฟเบอร์ ซึ่งผู้รับเหมาใช้เช่ามาเป็นวัน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดต้นทุน ไม่ต้องซื้อไม้ มาทำเป็นแบบ และต้องตัด และเมื่อจบงานก็ต้องหาที่เก็บ และก็ไม้แบบมีโอกาสชำรุดเมื่อใช้ไปไม่กี่ครั้ง
ตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบและเหล็กเสริม ว่ามีเหล็กเสริมติดแบบหรือไม่ ซึ่งก็ต้องใช้ลูกปูนหนุนไม่ให้เหล็กติดแบบ เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อถอดแบบออกจะเห็นเหล็กโผล่ และนานไปก็จะเป็นสนิม ปูนก็จะแตกร้าว
คนงานก็จะคอยรอรับและจับ bucket ซึ่งทำงานค่อนข้างลำบากเนื่องจากเป็นคานที่อยู่สูง เวลาปล่อยปูนออกจาก bucket ต้องคอยเดินไปด้วย เพราะไม่เช่นนั้นปูนก็จะล้นอยู่ที่จุดๆเดียว เนื่องจากปิดปาก bucket ไม่ค่อยจะทัน
ภาพถ่ายจากด้านบนชั้น 2 จะเห็นพื้นที่ว่างด้านหลังบ้าน จากจุดท้ายรถเครน ถึงรั้วสังกะสี
เมื่อเทปูนเสร็จ วันรุ่งขึ้นก็ถอดแบบข้างคานออก ซึ่งปกติ ก็ประมาณ 1-2 วัน แต่เนื่องจากผู้รับเหมาต้องเร่งนำแบบไปคืนที่เช่ามา ซึ่งก็พออนุโลมได้ เนื่องจากส่วนข้างคานไม่ได้รับน้ำหนักอะไร และเป็นปูนจาก plant แต่ก็ต้องบ่มปูนเพื่อไม่ให้น้ำในปูนระเหยเร็วเกินไป ซึ่งในที่นี้ก็ใช้ฉีดน้ำรดผิวปูน แต่ส่วนของท้องคานยังรื้อออกไม่ได้ ต้องรอครบ 7 วัน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น